พระสิทธัตถะราชกุมาร รูปพรรณสัณฐานก็เหมือนมนุษย์เรานี่เอง

พระพุทธเจ้า อธิบายธรรม

พุทธรัตนะนี้ ที่เราไหว้บูชาอยู่ทุกวันนี้ รูปมีเกตุตูมบ้าง เรียบบ้าง แหลมบ้าง มีเกตุอย่างนี้ ไม่ใช่เหมือนคนอย่างนี้ คนเราไม่มีอย่างนั้น พระสิทธัตถราชกุมารก็ไม่มีอย่างนี้ เหมือนมนุษย์เรานี่เอง

พระสิทธัตถราชกุมาร เมื่อครั้งโกมารภัจจ์แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปในสำนักของพระบรมศาสดา ครั้งนั้นพระองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป อยู่ในอัมพติกาวาส สวนมะม่วงของหมอโกมารภัจจ์ เวลาค่ำของวันกลางเดือนที่แสงดวงจันทร์สว่าง ถือประทีปเสด็จไปด้วยพลช้างพลม้าครึกครื้นมากมาย ครั้นไปถึงก็ลงจากหลังพระราชพาหนะ เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระเจ้าอชาตศัตรูได้เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดา แสงก็สว่างไปรอบ จึงได้ถามโกมารภัจจ์ว่า พระศาสดาองค์ไหน? ถ้าหากพระศาสดามีเกตุแหลมๆ ตูมๆ อย่างนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูพระองค์เป็นกษัตริย์ จะต้องไปถามโกมารภัจจ์ทำไม นี่พระองค์ไม่รู้จักเหมือนกัน พระองค์จึงได้ตรัสถามอย่างนั้น โกมารภัจจ์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าค่ะ ผู้ประทับนั่งพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทางบูราพาทิศ พระปฤษฎางค์จรดอยู่ที่เสากลางนั้น พระองค์นั้นแหละคือพระบรมศาสดา

พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงหมอบเข้า ไปเฝ้าใกล้พระบรมศาสดา พระเสโทไหลเต็มพระพักตร์และทั่วพระวรกาย ตรัสอะไรมิออก ทรงสะทกสะท้านต่อพระบรมศาสดาเพราะพระองค์ได้กระทำปิตุฆาตฆ่าบิดา คือพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นบิดาของพระองค์เองไว้ พระองค์ไม่สบายพระทัย ถ้าหากพระองค์ไม่ทรงทักทายปราศรัยก่อนแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูผู้กำลังพระหฤทัยจะแตกทีเดียว พระองค์จึงทรงทักทายปราศรัย กระทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงสบายพระหฤทัยขึ้น แล้วพระองค์ทรงรับสั่งกับพระเจ้าอชาตศัตรูด้วยประการต่างๆ พระเจ้าอชาตศัตรูจะประสงค์อย่างไร ก็ทรงตรัสอย่างนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจะทรงถามอย่างไร พระองค์ก็ทรงแก้ไขด้วยความถี่ถ้วนทุกประการ

ที่พระเจ้าอชาตศัตรูไปเฝ้าพระบรมศาสดาก็เพื่อให้ทรงรู้จัก เพราะพระพุทธเจ้าก็เหมือนกับพระสงฆ์ธรรมดาสามัญทั้งหลาย พระสิทธัตถราชกุมาร กายมนุษย์เป็นบุตรของพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางมายา รูปพรรณสัณฐานก็เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างเรานี้เอง

กัณฑ์ที่ ๒๐ ศีลทั้ง ๓ ประการ

๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน)

อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติฯ

โอวาทปาติโมกฺขาทิปาโฐ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยศีลทั้ง ๓ ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ประการ นี้เป็นศีลทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ ประการ ได้แสดงมาแล้ว

ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล ๕ ประการ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล และบริบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยทั้งหลายสมโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย เป็นศีลโดยปริยายเบื้องสูง

สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้นห ลุดขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจได้ นี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ทรงแนะนำให้ดำเนินถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ เรียกว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปชัด และข้อปฏิบัติดำเนินถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง คือพระองค์ทรงแนะนำว่า ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ นี่ทางปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูงนั้น ได้แสดงแล้วในสัปดาห์ก่อนๆ โน้น

บัดนี้จักแสดงในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อจากศีล สมาธิ ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูงเป็นลำดับมา

อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง อธิปัญญา แปลว่า ปัญญายิ่ง แปลตามมคธภาษาประกอบตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ในอันถือมั่นซึ่งศีลยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งจิตยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งปัญญายิ่ง ดังนี้ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ อย่างนี้ อย่างนี้แม้จริงอันเราทั้งหลายควรศึกษา แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในเรื่องอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สืบเป็นลำดับไป

อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง ศีลยิ่งนั้นเป็นไฉน ศีลตามปรกติธรรมดาที่ได้แสดงมาแล้ว โดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูง ศีลยิ่งนะ ยิ่งกว่าเบื้องต่ำเบื้องสูงไปกว่านั้นหรือ ศีลยิ่งน่ะ ต้องเห็นศีล ไม่ใช่รู้จักศีล เห็นศีลทีเดียว ศีลโดยปรกติสำรวมกาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ งดเว้นเบญจวิรัติ ๕ ประการ ขาดจากจิตสันดาน บริสุทธิ์ดุจพระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระศาสดา นี่ศีลตามปรกติธรรมดา ไม่ใช่อธิศีล นี่ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง เหมือนภิกษุสามเณรกำลังศึกษากันเช่นนี้ ปาฏิโมกข์สังวรศีล สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยมารยาทเครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย นี่ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ไม่ใช่อธิศีล

คือบริสุทธิ์ตลอดจนกระทั่งถึงเจตนา ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลจริงๆ ตรงตามวาระพระบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละเป็นศีล รับสั่งดังนี้ นี่ก็เป็นเจตนาศีล ความคิดอ่านทางใจ ศีลมีแต่กายกับวาจา เจตนาก็เป็นศีล ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลอีก เป็นศีลด้วย แต่ว่ายังไม่ถึงอธิศีล อธิศีล ศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลที่รู้ เจตนาความคิดอ่านปรกติสละสลวยเรียบร้อยก็มาจากศีล ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็นเป็นปรากฏขึ้นในศูนย์กลางกายมนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ๆ

เมื่อรู้จักอธิศีลดังนี้ละก็ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงนั้นเป็นปรกติศีล ในศีลที่เห็นดวงใส ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้น เขาเรียกว่าอธิศีล อธิศีล แปลว่าศีลยิ่ง ศีลที่ผู้ปฏิบัติและเห็นแล้ว ก็ใจของผู้ปฏิบัติ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นบ้าง ไม่ล่อกแล่ก เหลวไหล เหลวไหลเลอะเลือน ใจเป็นหนึ่งลงไปกลางดวงศีลนั่น นั้นเป็นอธิศีลแท้ๆ ศีลนั่นจะบริสุทธิ์ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะสะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น ศีลไม่เป็นท่อนเป็นช่อง อขณฺฑา อฉิทฺทา อสพลา เมื่อรักษาศีล ใจหยุดอยู่ในศีลนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลัง ต้องการรักษาศีลจะให้รวยเท่านั้น เท่านี้ มั่งมีเท่าโน้น มั่งมีเท่านี้ ศีลเป็นไปด้วยกำลังเช่นนี้ไม่มี ไม่ประสงค์เป็นอธิศีล ส่วนอธิศีลนั้น เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงศีล ก็หยุดทีเดียว มุ่งแต่สมาธิต่อไป ไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น อธิศีลที่ปรากฏนั่นแหละผิดปรกติธรรมดา

เมื่อเห็นดวงศีลขนาดนั้นแล้ว ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็จะเข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงขนาดนั้น นั่นสมาธิ ที่เห็นดวงนั้นแหละ ดวงอธิจิตหละ จิตยิ่ง สมาธิยิ่งหละ นั่นเป็นสมาธิยิ่ง ยิ่งกว่าที่ทำมาแล้ว เป็นมาแล้ว เห็นมาแล้ว นั่นเรียกว่าจิตยิ่ง

จิตก็จะหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก เมื่อจิตหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ นิ่งพอถูกส่วนเข้า พอจิตที่หยุดนิ่งก็กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็นดวงปัญญาอีกดวงหนึ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่น นั่นแหละปัญญาดวงนั้น เขาเรียกว่าอธิปัญญา อธิปัญญาแท้ๆ อธิปัญญาในตอนต้น ไม่ใช่ตอนปลาย มีตอนปลายอีก

อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ดวงนี้ นี่แหละเป็นธรรมถ่องแท้ในพุทธศาสนา เมื่อผู้ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงอธิศีล เข้าถึงอธิจิต เข้าถึงอธิปัญญา ถ้าจะดำเนินต่อไปตามร่องรอยของพระพุทธศาสนา กลางดวงปัญญามีวิมุตติ กลางดวงอธิปัญญานั่นมีวิมุตติ วิมุตติอย่างไร วิมุตติหลุดทีเดียว หลุดจากศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปทีเดียว วิมุตติ แปลว่า วิมุตติ หลุด แปลว่า หลุดพ้น กลางดวงวิมุตตินั้นจะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเป็นธรรมที่พึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริง หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายมนุษย์ที่นอนฝันออกไป เห็นปรากฏทีเดียวว่า อ้อ กายนี้เองที่เรานอนฝันออกไป เห็นปรากฏนี้เอง ไม่ฝันแล้วก็ไม่เห็น ฝันจึงเห็น เห็นปรากฏกายที่นอนฝันออกไป นี่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่หยาบนี้

ยังมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่ละเอียดนั่น ใจกายมนุษย์หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวง อธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีลอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญานั่นอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นอีก ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ นี่ เข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด

ใจกายทิพย์ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้าเห็นอะไร เห็นอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญานทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด

ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม

ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด

ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายอรูปพรหม

ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด

ใจยรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กเท่าไรตามส่วนของกายธรรมนั้น ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก นั่นแหละกายธรรม นั่นแหละเรียกว่า พุทโธ หรือเรียกว่า พุทธรัตนะ กายธรรมนั่นเองเรียกว่าพุทธรัตนะ นี่ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เมื่อเราแสดงศีลของสามัญ สัตว์ที่ยังไม่เห็นหรือยังไม่รู้ เป็นสามัญศีล ไม่ใช่อธิศีล ศีลผู้ทำมี ทำเป็น ทำเห็น เป็นอธิศีล

ตั้งแต่กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรม เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ดวงศีลในกายธรรมยังมีอีก

ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลอีก ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายใหญ่กว้างแค่ไหน หน้าตักกว้างแค่ไหน ดวงธรรมที่เป็นธรรมกาย กลมรอบตัว เหมือนยังกับลูกบิลเลียดกลมรอบตัว ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ยิ่งกว่านั้น ใสกว่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงศีลที่เห็นขึ้นในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเท่ากัน ธรรมนั่นเท่าไร ดวงศีลนั่นก็เท่านั้น ดวงสมาธิก็เท่านั้น ดวงปัญญาก็เท่านั้น ดวงเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญนัก ศีลนี้ เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่ เมื่อเข้าถึงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่แล้วก็ควรจะขยับชั้นขึ้นไป ใหม่

ศีลที่แสดงมาแล้วนั้นเป็นปรกติศีลไป หรือศีลขั้นต้น ยังไม่ถึงศีลเห็น นี่เป็นธรรมดาศีลไปหรือเป็นปรกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกาย พอไปเห็นดวงศีลในธรรมกายเข้า ใหญ่ขนาดวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ศีลขนาดนั้น ศีลที่ในกาย ๘ กาย กายมนุษย์ตลอดจนกระทั่งถึงกายอรูปพรหมละเอียด ๘ กายนั้น ควรเป็นปรกติศีลเสีย ต้องขยับขึ้นดังนี้ ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอธิศีลไป สูงขึ้นขนาดนี้ นี่ได้แก่คนปฏิบัติเป็น สูงขึ้นไปต้องจัดดังนี้เป็นอธิศีล เพราะศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ยิ่งกว่าดวงศีลในกายทั้ง ๘ กายที่แล้วมา

เข้าถึงกายธรรมแล้ว กายธรรมไม่ใช่กายในภพ เป็นกายนอกภพ กาย ๘ กาย กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด เป็นกายในภพ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด พวกนี้กายอยู่ในภพ กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด นี่เป็นกายอยู่ในรูปภพ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด อยู่ในอรูปภพ กายเหล่านี้อยู่ในภพ ศีลก็ควรจะเป็นปรกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลในกายทั้ง ๘ นั้นก็เป็นปรกติไป ดวงศีลที่ใส วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย นั่นเป็นอธิศีลแท้ๆ ไม่เคลื่อนหละ คราวนี้ถูกแน่ล่ะ

ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ นั่นอธิจิตแท้ๆ เข้าถึงดวงอธิศีล ดวงอธิจิต ได้ดังนี้แล้ว กลางดวงอธิจิตนั่นก็เป็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน ดวงเท่าๆ กัน หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีก ดวงเท่าๆ กัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงอธิจิตอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญาอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา หยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีกเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจของพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา   ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนัก ขึ้นไป

ใจของพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล ตรงนี้แหละเป็นปัญหาอยู่ ที่เรียกว่าเป็นอธิศีล พอถึงพระอรหัตแล้ว อีกชั้นหนึ่ง หมดกิเลสเสียแล้ว ถ้าหากว่านี้เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถ้าหากว่าเป็นอธิศีลจะซ้ำรอยกันไป ควรเป็นวิมุตติศีล เพราะท่านเป็นวิมุตติทั้งเรื่องเสียแล้ว พระอรหัตควรเป็นวิมุตติศีล แล้ว ดวงนั้นวัดผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว ศีลดวงนั้นเป็นวิมุตติศีล เป็นวิมุตติเสียแล้ว ท่านหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติศีลนั้น ถูกส่วนเข้าก็เข้าวิมุตติจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติจิต ก็เข้าถึงวิมุตติปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญานั่น เข้าถึงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตละเอียด หน้าตักขยายส่วนหน้าขึ้นไป ๓๐ วาทีเดียว กลมรอบตัวเท่าหน้าตักธรรมกายละเอียด ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไป ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไปนับอสงไขยไม่ถ้วน ละเอียดขึ้นไปดังนี้ แต่ว่าต้องเดินไปแนวนี้ ผิดแนวนี้แล้วก็ไม่ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถูกแนวนี้ละก็ ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นลำดับไป ถูกหลักนี้จึงจะไปนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตก็ไปนิพพานทีเดียว ทางอื่นไม่มีทางไป มีทางไปนิพพานเท่านั้น เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว พระพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติถึงพระอรหัตแล้ว เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกแล้ว ท่านก็ส่องดูธรรมุปนิสัยสัตว์ ว่านี่เราปฏิบัติ มาถึงแค่นี้แล้วเราจะเคารพอะไร เราไม่เห็นมีใครควรเคารพใน ๓ ภพ กามภพเป็นกายมนุษย์ กายสัตว์นรก กายสัตว์เดรัจฉาน กายเปรต กายอสุรกาย หรือกายมนุษย์ก็ดี ในภพมนุษย์ กายมนุษย์ กายทิพย์ ในจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้ หย่อนกว่าเราทั้งนั้น ไม่ถึงเรา ท่านมาขยับขึ้นมาถึงรูป พรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา ๑๑ ชั้นนี้ กายต่ำกว่าเราทั้งนั้น อวิหา อัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นี่เป็นที่อยู่ของกายพรหม ต่ำกว่าเราทั้งนั้น ที่ไม่ได้มรรคผล จนไปถึงกายอรูปพรหม ๔ ชั้น อากาสานัญจายตนภพ วิญญานัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็ไม่ลดลงไปได้ เราสูงกว่าทั้งนั้น เราจะเคารพใคร สักการะใคร นับถือใคร จึงจะสมควร ท่านก็สอดธรรมกายพระอรหัต ถอยออกไปนิพพาน มีเท่าไรๆๆ ก็เข้ากลาง หนักเข้า ไปถามพระพุทธเจ้าที่ไปนิพพานแล้วเก่า ๆ มากน้อยมีเท่าไรรู้เรื่องหมต ว่า พระพุทธเจ้าเก่าๆ นับถือใคร บูชาใคร เคารพใคร มีตำรับตำรายืนยัน เป็นเนติแบบแผนทีเดียว ท่านวางตำรับตำราไว้ว่า

เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน
สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ วิหรนฺติ จ
อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา
สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ
องฺ.จตุกฺก.(บาลี) ๒๑/๒๑/๒๗

นี้เป็นตำรับตำรา พระพุทธเจ้าท่านดำริเมื่อได้ตรัสรู้แล้วว่า พระสัมพุทธเจ้าเหล่า ใดในอดีตกาลที่ล่วงไปแล้วทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคข้างหน้า พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ซึ่งยังความโศกของประชาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น เคารพสัทธรรมทีเดียว วิหรึสุ วิหรนฺติ จ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดมีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ทั้งจะมีต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าด้วย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ที่เคารพสัทธรรม เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เคารพสัทธรรมอย่างเดียว ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้รักตน สงสารตน ยินดีต่อตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพสัทธรรม ควรทำการเคารพสัทธรรม นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้

เคารพสัทธรรม เคารพอย่างไร เคารพไม่ถูก ไม่ใช่เคารพง่ายๆ ที่ได้เข้ากายพระอรหัตนี่มาอย่างไรล่ะ ใจก็ต้องหยุดนะซี เริ่มต้นก็ต้องหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล หยุดอีกนั่นแหละ พอเข้าถึงดวงสมาธิก็หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา พอเข้าถึงดวงปัญญาก็หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติก็ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญานทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด

ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก หยุดที่ใจหยุดนั่นแหละ ถูกหละ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา หยุดอันเดียว เข้าดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละ หยุดในหยุดเรื่อยไปก็เข้าถึงกายทิพย์

ใจกายทิพย์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก หยุดนั่นแหละสำคัญ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดอันเดียวเท่านั้นแหละ ทางพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใจดำ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ หยุดอันเดียวถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวเท่านั้นก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด

ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็เข้าถึงกายรูปพรหม

ใจกายรูปพรหมก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอันเดียว เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด

พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจของรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดเดียวแหละตัวสำเร็จ นี่แหละหัวใจ เฉพาะพระพุทธศาสนาหละ อย่าไปเข้าใจอื่นนะ เข้าใจอื่นเหลวหละ ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม

ใจของกายอรูปพรหมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด

ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีกก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีกก็เข้าถึงกายธรรม หยุดอันเดียว อย่าเลอะ ทางอื่นไม่ได้ พอหยุดเข้าได้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วน เข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด

ใจกายธรรมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด หยุดอันเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายพระโสดา

ใจกายพระโสดาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด

ใจกายพระโสดาละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็เข้าถึงกายพระสกทาคา นี้ถ้าไม่หยุดแล้วเข้าไม่ถึงแท้ๆ

ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด

ใจกายพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียดก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวนั่นแหละ ก็เข้าถึงกายพระอนาคา

ใจของกายพระอนาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด

ใจกายพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอรหัต

ใจของกายพระอรหัตก็หยุดไม่ถอยเลย ไม่เขยื้อนทีเดียว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่เขยื้อนทีเดียว เข้าถึงดวงวิมุตติศีล ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติศีล ก็เข้าถึงดวงวิมุตติสมาธิ ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติสมาธิ เข้าถึงดวงวิมุตติปัญญา หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญาก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่นั่นก็เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด แบบเดียวกันอย่างนี้

เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก็ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎก คือศีลนั่นเอง ย่อลงในศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลงก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง

นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำ ให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำทางพระพุทธศาสนา ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ละก็ พบพระพุทธศาสนาก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้เหมือนอยู่คนละจักรวาล ถ้าว่าถูกหลักดังนี้แล้ว ดังนี้แหละ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ จริงอยู่อย่างนี้แหละ ท่านทั้งหลาย ควรศึกษา ไม่ศึกษาอย่างนี้ก็เอาตัวไม่รอด

ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ที่ ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งต้นจนอวสานนี้  สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรใน สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมิกถา

เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

โอวาท พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

จากพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่สด จนฺทสโร กัณฑ์ที่ ๒๐ เรื่อง ศีล ทั้ง ๓ ประการ
ผู้อ่าน ws: nhws

Transcription

📚กัณฑ์ที่ ๑๙ โอวาทปาฏิโมกข์

Summary

กัณฑ์ ๑๙ โอวาทปาฏิโมกข์ เนื่องในวันมาฆบูชา

Transcription

อรหํ ความหมายของ คำว่า ไกล จากกิเลส ๒

เหตุที่ทำให้พระองค์เป็น อรหํ นั้นสรุปโดยย่อก็ ได้แก่ การที่พระองค์บำเพ็ญสมาธิเจริญวิปัสสนาด้วยพระมหาปธานวิริยะอันแรงกล้า ณ โคนไม้พระศรีมหาโพธิ์ในวันวิสาขปุรณมีนั้น โดยความเด็ดเดี่ยว ตั้งพระหฤทัยอธิษฐานว่า แม้เนื้อและเลือดในพระสรีระของพระองค์จะเหือดแห้งเหลือแต่ เส้นเอ็น หนัง และกระดูกก็ตามทีเถิด หากไม่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณตราบใด พระองค์จะไม่ยอมลุกจากที่นั้นเป็นอันขาด แล้วพระองค์ก็ทรงนั่งสมาธิรุดไป ด้วยน้ำพระทัยอันเด็ดเดี่ยว ในที่สุดก็ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ สมดังพระประสงค์ในราตรีกาลแห่งวันวิสาขปุรณมีนั้นเอง
ยามต้น ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความหยั่งรู้ระลึกชาติหนหลังได้
ยามที่ ๒ ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ ความหยั่งรู้ถึงความจุติและความเกิด
ยามที่ ๓ ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ความหยั่งรู้ที่กำจัดอาสวกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิตให้หมดสิ้นไป

ทรงรู้เห็นแจ่มแจ้งหมดเห็นจริงๆ เห็นด้วย ตาของธรรมกาย ไม่ใช่เห็นด้วยตามนุษย์ หรือคิดคาดคะเนเอา เห็นตลอดทั่วโลก มนุษย์โลก สวรรค์โลก นรก เพราะพระองค์ได้ผ่านพ้นโลก เสด็จออกสู่แดนพระนิพพานแล้ว จึงเห็นได้ทั่วถ้วนโดยมิสงสัย

กัณฑ์ที่ 1 – พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

พระพุทธคุณ ทั้ง ๙ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กัณฑ์ที่๑

กัณฑ์ที่ 1 – พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

คำว่า คุณ ในที่นี้หมายความว่ากระไร เมื่อพิเคราะห์ดูตามถ้อยคำในบาลีนี้แล้ว หมายความว่า ความดี ความงามที่ควรเทิดทูนเคารพบูชา ความดี ความงาม ของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ของพระธรรม ๖ ประการ ของอริยสงฆ์ ๙ ประการ ตามที่ปรากฏในพระบาลีนี้ จักได้แสดงแต่ละประการเป็นลำดับไป เริ่มต้นพระพุทธคุณก่อน ซึ่งตั้งต้นด้วยคำว่า อรหํ ตลอดจนจบสังฆคุณ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราที่มีพระเกียรติคุณเฟื่องฟู จนเป็นที่เคารพสักการะของมวลเทวดา อินทร์ พรหมและมนุษย์มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ มิใช่เพราะเหตุที่พระองค์เป็นกษัตริย์ แต่เป็นเพราะเหตุอื่น

เหตุอื่นคืออะไร ก็คือเหตุที่พระองค์สละราชสมบัติออกบรรพชา ประกอบพระมหาวิริยะความเพียร อันแรงกล้า จนได้บรรลุพระโพธิญาณ ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ เมื่อวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือน ๖ นั้นเอง

พระองค์ได้ตรัสรู้เญยธรรมทั้งปวง ในเวลารุ่งอรุณวันนั้น คุณงามความดีของพระองค์ได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ ตั้งแต่วันนั้นเป็นลำดับมา จนตราบเข้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน รวมเป็น ๙ ประการด้วยกัน

Transcription

อรหํ ความหมายของ คำว่า ไกล จากกิเลส ๑

อรหํ เป็นพระคุณข้อต้น มีนัยดังจะแสดงต่อไปนี้

อรหํ เป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเองพร้อมกับที่พระองค์บรรลุพระโพธิญาณ ยกตัวอย่างเทียบเคียงคล้ายกับชื่อ พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า มัลลิกา กล่าวคือว่าวันที่พระนางเธอประสูตินั้น มีดอกมะลิร่วงลงมาจากอากาศในเวลาเกิด พระราชบิดาและพระประยูรญาติ ถือเอานิมิตดอกมะลินั้น ขนานนามธิดาองค์นั้นว่า มัลลิกา แปลว่า พระนางมะลิ

อรหํ เป็นคำที่พวกเรานักปฏิบัติธรรมเชิดชูกันนักหนา ถึงแก่ได้นำมาใช้เป็นบทบริกรรมภาวนาในเมื่อนั่งสมาธิ
ฉะนั้นจึงขอนำมาแปลไว้ในที่นี้ เพื่อได้ซาบซึ้งถึงพระคุณนามข้อนี้ไว้บ้าง แต่การจะพรรณนาให้สิ้นสุดได้ เมื่อคิดเทียบแล้วก็เท่ากับ อากาศในปีกนก กล่าวคือ บรรดาอากาศทั้งหลายในสากลโลกมีมากสุดที่จะคณนา แต่คิดเฉพาะอากาศเท่าที่ปีกนกกระพือขณะที่บินหนหนึ่ง จะมีอากาศอยู่ในระหว่างปีกนกนิดเดียวในจำนวนอากาศทั้งหลาย นี่ฉันใดก็ฉันนั้น

อรหํ แปลสั้นๆ ว่า ไกล ว่า ควร เป็น ๒ นัยอยู่
ไกล หมายความว่า ไกลจากกิเลส หรือว่าพ้นจากกิเลสเสียแล้ว ไกล ตรงกันข้ามกับปุถุชนคนเรา ซึ่งยังอยู่ใกล้ชิดกิเลส
พระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องดังแท่งทองชมพูนุท หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ใสเหมือนดวงแก้วอันหาค่ามิได้ สมคำที่ว่า พุทธรัตนะ ประกอบด้วย ตาทิโน เป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหว หากจะมีของหอมมาชะโลมไล้พระวรกายซีกหนึ่ง และเอาของเหม็นมาชโลมซีกหนึ่ง พระหฤทัยของพระองค์ก็ไม่แปรผันยินดียินร้ายประการใด

และเปรียบได้อีกสถานหนึ่งว่า อินทขีลูปโม พระทัยมั่นคงดังเสาเขื่อน ถึงจะมีพายุมาแต่จาตุรทิศก็ไม่คลอน เมื่อเช่นนี้ จึงมีนัยที่แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นผู้ควร คือเป็นผู้ที่เราสมควรจะเทิด จะบูชาไว้เหนือสิ่งทั้งหมด

อรหํ เป็นนามเหตุ พระคุณนาม นอกนั้นเป็นนามผล

ว่าในด้านภาวนา กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้นๆ
มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์
กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์
กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายรูปพรหม
กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม
คนเราที่ว่าตายนั้น คือกายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพราก ออกจากกัน เหมือนมะขามกะเทาะล่อนจากเปลือก ฉะนั้น กายทิพย์ก็หลุดจากกายมนุษย์ไป

การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป
กิเลสในกายมนุษย์คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
กิเลสในกายทิพย์คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายรูปพรหมคือ ราคะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายอรูปพรหมคือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย
ต่อแต่นี้ไป จึงชักเข้าถึงกายหนึ่ง คือ กายธรรม หรือเรียกว่า ธรรมกาย เข้าชั้นโคตรภูจิต เรียกว่า โคตรภูบุคคล

โคตรภูบุคคลนี้ เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ เป็นอนุโลมปฏิโลม จนหลุดพ้นจากกิเลส พวกสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสแล้วตกศูนย์วับกลับเป็นพระโสดาบัน เป็นอันว่าพระโสดาบันละกิเลสได้ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

แล้วกายโสดาบันนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ เป็นอนุโลมปฏิโลม ต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๒ คือกามราคะ พยาบาทชั้นหยาบ จึงเลื่อนชั้นขึ้นเป็นสกทาคามี

กายพระสกทาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๒ คือกามราคะ พยาบาทขั้นละเอียด จึงเลื่อนชั้นเป็นพระอนาคามี

แล้วกายพระอนาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา จึงเลื่อนขึ้นจากพระอนาคามีเป็นพระอรหันต์ จิตของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลสทั้งมวลจึงได้พระเนมิตกนามว่า อรหํ

กัณฑ์ที่ 1 – พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

Transcription

มรรคมีองค์ ๑๐

Summary

ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๕ ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี ๑๐ ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจตีติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ ๑๐ คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่องค์ ๘ แล้ว นี่ ๘ องค์แล้ว สัมมาญาณัง เป็นองค์ที่ ๙ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ ๑๐ นี่มี ๑๐ อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี ๑๐ องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ ๑๐ อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ๘ องค์ย่อลงเป็น ๓  สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ ๑๐ ย่อลงเหลือ ๕ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ

📚กัณฑ์ที่ ๑๘ สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ และสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

Summary

กัณฑ์ที่ ๑๘ สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง – https://www.dhammaindex.papalove.net/candasaro/10860/?hilite=สมาธิโดยปริยาย

สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ และเบื้องสูงในทางปฏิบัติ

ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละ ก็มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทางปฏิบัติว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูงแบบเดียวกัน

อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง ๖ รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติด กับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับมีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็นของเก่า ของใหม่ ของปัจจุบัน หรียธรรมารมณ์บ้าง ที่เกิตอยู่ ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับ ใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไป ติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้

เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์ เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่งบางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏ ทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิ ก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุดดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็นนี้เป็นทางปฏิบัติ

จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๑๘ สมาธิโดยปริยาเบื้องต่ำ และสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ และเบื้องสูงในทางปริยัติ

Summary

สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำถือเอาความตามพระบาลีนี้ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิละ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มีสองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

สมาธิโดยปริยายเบื้องสูงบาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาน ความเพ่งที่ ๑ เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิตก ความตรึกถึงฌาน วิจาร ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจ อิ่มใจ ปีติ ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่าปีติ สุข มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชมฺปีติสุขํ ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิด จากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ ๕ ประการ นี้ปฐมฌาน

ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรองตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่ ๒ ระคนด้วยองค์ ๓ ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่วิเวกเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน

ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่ ๓ ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ คือ สุข เกิดแต่วิเวก หรือ สุข เอกัคคตา อย่างนี้ก็ได้ เพราะเกิดแต่วิเวก

ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือ ดับความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่ ๔ ระคนด้วย องค์ ๒ ประการ มีสติบริสุทธิ์เฉยอยู่ ๒ ประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลีได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติแท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ